"Parody Content" คอนเทนต์ล้อเลียน-เสียดสี ที่มีมาตั้งแต่กรีกโบราณ!

“Parody Content” หรือ “คอนเทนต์ล้อเลียนเสียดสี” มีความหมายตามพจนานุกรมมหาวิทยาลัยแคมบริจด์ ระบุว่า เป็นงานเขียน ดนตรี ศิลปะ สุนทรพจน์ และงานประเภทอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นโดยจงใจเลียนแบบสไตล์ของบุคคลที่มีชื่อเสียง ได้รับความสนใจของสังคม หรือบุคคลและสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ ทำให้มีลักษณะหรือคุณสมบัติเด่น ที่เป็นที่รู้จักจากต้นฉบับ เป็นที่สังเกตได้ชัดเจนในลักษณะที่ทำให้เกิดอารมณ์ขันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดย Parody Content มีต้นกำเนิดมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณในช่วงที่อริสโตเติลยังมีชีวิตอยู่

รู้จัก “ปรากฏการณ์สตีฟ” ปรากฏการณ์หายาก คล้ายแสงออโรราแต่ไม่ใช่

รู้จัก "DMZ" ที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์ เขตปลอดทหารเกาหลี!

รู้จัก “นิการากัว” ดินแดนสวรรค์ของนักเล่นเซิร์ฟ กาแฟชื่อก้องโลก

ซึ่งรากศัพท์ของคำว่า Parody มาจากภาษากรีกโบราณ คือคำว่า Para + Oide โดยคำว่า Para แปลว่า “(ต่อ)ต้าน” หรือ ตรงข้าม ส่วนคำว่า Oide แปลว่า เพลง เนื่องจากรูปแบบของ Parody ในสมัยนั้น มักมาในรูปแบบกลอนเพลงหรือบทกวี ที่ล้อเลียนเรื่องเล่าของวีรบุรุษหรือเทพเจ้า

ทำให้โดยภาพรวมแล้ว รากศัพท์ของคำว่า Parody จึงมีนัยยะของการเป็นเพลงกลอนที่ต่อต้านเรื่องเล่ากระแสหลัก หรือเรื่องเล่าที่กำลังกดขี่วิธีการเล่าแบบอื่น ๆ อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าเทพเจ้า หรือเรื่องเล่าของเหล่าวีรบุรุษนั่นเอง

ต่อมาในศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (ราวปี ค.ศ. 1901 ถึงปัจจุบัน) ปรากฏ Parody แบบใหม่ขึ้นมา นั่นคือ Recontextualizing Parody หรือการล้อเลียนโดยปรับปริบทใหม่ โดยเป็นการนำเอา ต้นแบบของการล้อเลียน มาล้อ แต่ไม่ได้มีเป้าหมายล้อเลียนตัวต้นแบบโดยตรง แต่เป็นการล้อเลียนเพื่อต่อต้านกระแสการกดขี่หรือการครอบงำอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกดขี่ที่ยากจะต่อสู้ด้วยวิธีการธรรมดา หรือตรงไปตรงมาได้ เช่น การต่อสู้ทางการเมือง เป็นต้น

Parody Content ละเมิดลิขสิทธิ์ไหม?

Parody Content เป็นคอนเทนต์ที่ส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปยัง เพลง ภาพยนตร์ กวี ซีรีส์ หรือภาพและวิดีโอที่เป็นกระแสหลักในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งถือเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ชัดเจน ทำให้จนถึงปัจจุบัน ผลงาน Parody กลายเป็นประเด็นหลักที่ถกเถียงกันว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธ์หรือไม่?

 "Parody Content" คอนเทนต์ล้อเลียน-เสียดสี ที่มีมาตั้งแต่กรีกโบราณ!

บริษัท IP Thailand ผู้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ระบุว่า การล้อเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น (Parody) เป็นประเด็นปัญหาในทางกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ได้รับความสนใจในแวดวงกฎหมายและแวดวงวิชาการในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

นักกฎหมายส่วนใหญ่ เห็นว่าการสร้างงานล้อเลียน (Parody) เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากกระบวนการในการสร้างงานล้อเลียน ย่อมต้องทำซ้ำหรือดัดแปลงงานของบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการล้อเลียนงานใด ดังนั้น ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้สร้างสรรค์งานนั้นย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ด้วยความที่กฎหมาย ไม่ได้บัญญัติอย่างชัดเจนว่า การล้อเลียน หรือ Parody เป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม ที่ไม่ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้นักกฎหมาย มีความเห็นในประเด็นนี้ต่างกันออกไปเป็นสองกลุ่มความเห็น คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการล้อเลียนไม่ใช่การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม และเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของงานต้นฉบับ กับอีกฝ่ายที่เห็นว่าการล้อเลียนเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

IP Thailand เสริมว่า อย่างไรก็ดี หากมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนกระทำการใดกับงานลิขสิทธิ์ ย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างแน่นอน อีกทั้งผู้ที่สร้างงานล้อเลียนนั้นอาจได้ลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลงของตัวเองด้วย

เรียบเรียงจาก Wikipedia / IP Thailand

ภาพจาก Shutterstock

เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ธันวาคม

ชาวเน็ตโวยแอปฯ SCB ล่มวันเงินเดือนออก ธนาคารแจงเร่งแก้ไขเร็วที่สุด

ป.ป.ส. เข้าค้นบ้าน "สว.อุปกิต" ยึดรถหรู-ปืน อายัดแล้ว