พระราชทานชื่อ “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” รถไฟฟ้าสีแดงนามใหม่ “นครวิถี-ธานีรัถยา”

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) มีหนังสือที่ นร 0508/ท 4784 ลวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2 ก.ย. 2565 เรื่อง ขอพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟโครงการระบบรถไฟชานเมืองเมืองสายสีแดงอ่อน (ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และสถานีกลางบางซื่อ โดยแจ้งว่า สลค. ได้ขอให้ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทต่อไปแล้ว และได้รับแจ้งจากสำนักพระราชวังว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟฯ และสถานีกลางบางซื่อ ดังนี้

พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะที่ 1 ว่า “นครวิถี” ความหมาย “เส้นทางของเมือง” พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะที่ 1 “ธานีรัถยา” ความหมาย “เส้นทางของเมือง” พระราชทานชื่อสถานีกลางบางซื่อว่า “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” ความหมาย “ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร”

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า รถไฟฟ้าสีแดงเปิดบริการไม่เป็นทางการโดยให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.64 และเปิดบริการเต็มรูปแบบเก็บค่าโดยสาร 29 พ.ย.64 อัตราค่าโดยสาร 12-42 บาท ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 1.9 หมื่นคนต่อวัน และเคยทุบสถิติสูงสุดไว้ที่ 2.2 หมื่นคนต่อวัน แต่ยังต่ำกว่าประมาณการที่ 8 หมื่นคนต่อวัน

ก่อนหน้านี้ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. เปิดเผยว่า รฟท.ได้เสนอขออนุมัติปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 10,670 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,694 ล้านบาท และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,468 ล้านบาท ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว คาดว่าจะเปิดประกวดราคา (ประมูล) ทั้ง 3 เส้นทางได้ในปลายปี 65

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ทั้ง 3 เส้นทางผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีหลายปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น อาทิ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ รฟท. จึงต้องทบทวนราคาค่าก่อสร้างใหม่ สำหรับช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา ครม. อนุมัติเดือน ก.พ.62 วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท แต่มีงานก่อสร้างเพิ่ม 2 สถานี ได้แก่ สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีสะพานพระราม 6 ทำให้กรอบวงเงินเดิมไม่เพียงพอ ต้องเสนอขอเพิ่ม 468.09 ล้านบาท ส่งผลให้วงเงินกรอบใหม่อยู่ที่ 10,670.27 ล้านบาท

ส่วนช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช ครม.อนุมัติเดือน มี.ค.62 วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท แต่ได้ปรับลดวงเงินลง 1,950.67 ล้านบาท เนื่องจากเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานในส่วนของการจัดหาขบวนรถ 4 ตู้ 4 ขบวน มาอยู่ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) งานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ทำให้กรอบวงเงินใหม่อยู่ที่ 4,694.36 ล้านบาท ขณะที่ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ครม.อนุมัติเดือน ก.พ.64 วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ปัจจุบันมีการปรับแบบ แต่งานโยธาเปลี่ยนแปลงไม่มาก และปรับขอบเขตงานให้น้อยลง รวมถึงค่าเวนคืนที่ดินลดลง ส่งผลให้กรอบวงเงินจึงลดลงจากเดิม 101.71 ล้านบาท และกรอบวงเงินใหม่อยู่ที่ 6,468.69 ล้านบาท

สำหรับช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถีใหม่ ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก นอกจากนี้ยังต้องประเมินราคาค่าก่อสร้างใหม่ด้วย เบื้องต้น Missing Link ต้องปรับกรอบวงเงินเพิ่มประมาณ 2,843 ล้านบาท จากเดิม 44,157 ล้านบาท เป็นประมาณ 47,000 ล้านบาท โดยเส้นทางนี้คาดว่าจะเสนอ ครม. เห็นชอบในปี 65 และเปิดประมูลปี 66 อย่างไรก็ตามกรอบวงเงินใหม่ทั้ง 4 เส้น มีทั้งปรับเพิ่ม และลดลง จึงทำให้กรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ขยับเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 1,258 ล้านบาท    

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า รฟท.จะเร่งเปิดประมูลงานก่อสร้าง และงานระบบก่อน ขณะเดียวกันจะเร่งดำเนินการ PPP งานเดินรถฯ ทั้ง 6 เส้นทาง วงเงินประมาณ 3.6 แสนล้านบาท สัมปทาน 50 ปี แบ่งเป็น ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง และเส้นทางที่เปิดบริการแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งเรื่องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. แล้ว เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และครม. พิจารณาต่อไป คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 67 ทั้งนี้คาดการณ์ว่าปีแรกของการเปิดให้บริการครบทั้ง 6 เส้น จะมีผู้โดยสารประมาณ 9 หมื่นคนต่อวัน ประมาณการรายได้ 50 ปี อยู่ที่ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท.